วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

สาระสำคัญ
การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม
การอ้างอิงเอกสาร หรือทรัพยากรสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (เชิงอรรถ)
2. การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม (บรรณานุกรม)

เชิงอรรถ
เชิงอรรถ หมายถึง ข้อความที่อธิบายบางตอนในเนื้อหา หรือบันทึกแหล่งที่มาของการค้นคว้าอ้างอิงประกอบรายงานและข้อความที่แนะนำให้ค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้องกันในหน้าอื่นๆ ของรายงาน
เชิงอรรถถือเป็นการอ้างอิงสารสนเทศในส่วนของเนื้อเรื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการอ้าง 2 วิธี คือการอ้างอิงท้ายหน้า และการอ้างอิงระบบนาม-ปี ซึ่งเป็นวิธีอ้างอิงที่นิยมในปัจจุบัน

การอ้างอิงระบบท้ายหน้า แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnote) คือ เชิงอรรถที่ใช้แสดงแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมา ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของบุคคล สำหรับให้ผู้อ่านตรวจสอบ หรือค้นหาเพิ่มเติมได้




2. เชิงอรรถเสริมความ (Content Footnote) คือ ข้อความที่อธิบายเรื่องราว ความหมายของศัพท์บางคำที่มีในเนื้อเรื่อง หรืออธิบายข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น



3. เชิงอรรถโยง (Cross – reference Footnote) คือเชิงอรรถที่ให้ผู้อ่านไปดูเพิ่มเติมในบทอื่น หรือหน้าอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ



การลงเชิงอรรถอ้างอิงระบบท้ายหน้า
1. จากหนังสือ
รูปเล่ม ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง(ชื่อหนังสือ). หน้าที่อ้าง...
ตัวอย่าง ปิ่น มุทุกัณฑ์. (2515). คำพระ. หน้า 99.
- ผู้แต่ง 2 คน 3 คน และมากกว่า 3 คน ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการลงรายการบรรณานุกรม ส่วนผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ และพระสงฆ์มีสมณศักดิ์ ให้ระบุไว้หน้าชื่อ แต่ถ้าเป็นยศตำแหน่งหน้าที่การงานและคำนำหน้าให้ตัดออก เช่น
1 ม.ล. ตุ้ย ชุมสาย. (2516). วรรณกรรมพินิจเชิงจิตวิทยา. หน้า 49.
2 พระยาอุปกิจศิลปะสาร. (2511). หลักภาไทย. หน้า 112.
- ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ให้ใช้ชื่อตามสถาบันที่ปรากฏ โดยไม่ต้องกลับเอาฐานะของหน่วยงานไปไว้ข้างหลัง เช่น
1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2537). รายงานการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพของระบบผลิต.
หน้า 7
2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2532). เอกสารสอนชุดวิชาสารนิเทศเบื้องต้นหน่วยที่ 1-7. หน้า 15
- ผู้แต่งที่ใช้นามแฝง ให้ใช้นามแฝงเป็นชื่อผู้แต่ง แล้ววงเล็บคำว่านามแฝง
1 ดอกไม้สด (นามแฝง). (2514). อุบัติเหตุ. หน้า 311.
- ผู้แต่งที่มีฐานะเป็นผู้รวบรวมหรือบรรณาธิการ ให้ใช้เป็นชื่อผู้รวบรวมหรือบรรณาธิการเป็นชื่อผู้แต่ง คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) ตามด้วยคำว่าผู้รวบรวมหรือบรรณาธิการ เช่น
1 เสนอ นิลรัตน์นิสากรม , ผู้รวบรวม. (2530). ลักการพันมอเตอร์. หน้า 4.
- ผู้แต่งที่มีฐานะเป็นผู้แปล ให้ใช้เป็นชื่อผู้แปลเป็นรายการผู้แต่ง คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่าแปล แต่กรณีที่ทราบชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อผู้แต่งเช่น
1 สมบูรณ์ ศุภศิลป์ , ผู้แปล. (2538). คำสารภาพ. หน้า 7.
2 เจมส์ , เอ. มิซเซอร์เนอร์. (2516). คุณภาพชิวิต. หน้า 73.
- กรณีไม่ปรากฏผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือชื่อหนังสือเป็นรายการแรก เช่น
1 ลิขิตพระลอ. (2519). หน้า 43.
2. จากงานเขียนที่เป็นบทความในหนังสือ หรือรวมงานเขียนของบุคคลหลายคนในเล่มเดียวกัน
รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). “ชื่อบทความ.” ใน เพื่อนนอน. หน้า 347.
3. จากงานเขียนที่เป็นบทความจากวารสาร
รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์ , เดือน). “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่) :
เลขหน้าที่อ้าง...
ตัวอย่าง 1 ศิริวัฒน์ วงษ์ศิริ. (2520 , ตุลาคม). “แบบเรียนสำเร็จรูป.” วิทยาสาร. 14(5) : 9-11.
4. จากงานเขียนที่เป็นบทความจากหนังสือพิมพ์
รูปแบบ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์ , วันที่ เดือน). “ชื่อบทความ.” ชื่อหนังสือพิมพ์.
หน้าที่อ้าง.
ตัวอย่าง 1 ผู้กองเด๋ง (นามแฝง). (2540 , 14 มีนาคม). “เวลานอก.” ข่าวสด. หน้า 31.


การลงเชิงอรรถอ้างอิงระบบท้ายหน้า
1. ให้ขีดเส้นขั้นระหว่างส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง กับส่วนที่เป็นเชิงอรรถยาวประมาณกลางหน้ากระดาษจากแนวอักษรขอบซ้ายของหน้ากระดาษ แล้วเว้น 1 บรรทัดก่อนจะเขียนเชิงอรรถรายการแรก
2. ให้หมายเลขกำกับอัญประกาศรงกับหมายเลขเชิงอรรถในหน้าเดียวกัน โดยเขียนหมายเลขกำกับเชิงอรรถลอบเหนือบรรทัดหน้าอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง
3. ข้อความเชิงอรรถแต่ละตอนต้องจบในหน้าเดียว ไม่ควรต่อหน้าใหม่
4. ให้เรียงหมายเลขกำกับเชิงอรรถตั้งแต่หมายเลข 1 เป็นลำดับไปจนข้อความเชิงอรรถในหน้านั้นๆ หรือเรียงลำดับไปจนจบบท แล้วตั้งต้น 1 ใหม่ในบทติ่ไป หรือเรียงลำดับไปจนจบเนื้อหารายงาน
5. หนังสือ หรือวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่กล่าวถึงในเชิงอรรถ จะต้องเรียงไว้ในส่วนที่เป็นบรรณานุกรมท้ายเล่ม
6. บรรทัดแรกของเชิงอรรถต้องย่อหน้าเข้าไป 7 ตัวอักษร ถ้าเขียนบรรทัดเดียวไม่พอต่อบรรทัดที่ 2 เขียนชิดขอบซ้ายสุดของตัวอักษรตัวแรก
7. ถ้ามีเชิงอรรถหลายรายการในหน้าเดียวกัน ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ทุกรายการ


การลงเชิงอรรถเมื่ออ้างถึงงานซ้ำ
1. เมื่ออ้างถึงเอกสารเล่มเดิมซ้ำ โดยไม่มีเชิงอรรถอื่นมาคั่นให้ใช้คำว่า แหล่งเดิมภาษาอังกฤษใช้ lbid. เช่น
1วัลลภ สวัสดิวัลลภ. (2540). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. หน้า 109.
2แหล่งเดิม. หน้า9.
2. เมื่ออ้างถึงเอกสารเล่มเดิมซ้ำจากข้อมูลหน้าเดียวกัน แต่มีเชิงอรรถอื่นมาคั่น ให้ลงรายการผู้แต่ง แล้วต่อด้วยคำว่า หน้าเดิม ภาษาอังกฤษใช้ loc.cit..เช่น
1เจริญ ไชยชนะ. (2512). ประวัติศาสตร์ไทย. หน้า 5.
2สุชา จันทร์เอม. (2517). จิตวิทยาทั่วไป. หน้า 132.
3เจริญ ไชยชนะ. (2512). หน้าเดิม.
3. เมื่ออ้างถึงเอกสารเล่มเดิมซ้ำ จากข้อมูลต่างหน้ากัน โดยมีเชิงอรรถอื่นคั่นให้ใช้คำว่า เล่มเดิม แทนชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษใช้ op.cit. เช่น
1เจริญ ไชยชนะ. (2512). ประวัติศาสตร์ไทย. หน้า 5.
2สุชา จันทร์เอม. (2517). จิตวิทยาทั่วไป. หน้า 132.
3เจริญ ไชยชนะ. (2512). หน้าเดิม. หน้า 14.
การอ้างอิงในเนื้อหาระบบนาม- ปี
การอ้างอิงในเนื้อหาระบบนาม-ปี ให้ระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารอ้างอิงต่อจากปีพิมพ์ โดยคั่นด้วยเครื่องหมายทวิภาค(:)
รูปแบบการอ้างอิงอาจอ้างไว้หน้าข้อความหรือหลังข้อความก็ได้
ผู้แต่งอยู่หน้าข้อความเช่น
ประภาศรี อมรสิน (2535 : 536-537) กล่าวว่าเนื้อหาวิชาธุรกิจเกือบทุกวิชา มันจะเป็นวิชาที่ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทางวิชาการ หรือทฤษฎีส่วนหนึ่ง และการฝึกฝนปฏิบัติอีกส่วนหนึ่ง...
ผู้แต่งอยู่ท้ายข้อความ เช่น
หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือหนังสือที่รวมข้อเท็จจริงซึ่งรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ นำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนังสือที่ผู้ใช้จะอ่านเฉพาะตอนที่ต้องการไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่ม...
(สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. 2534 : 38)
- กรณีผู้แต่งเป็นไทย ให้ใช้ชื่อผู้แต่งและนามสกุล ส่วนผู้แต่งชาวต่างประเทศให้ใช้ชื่อสกุลเท่านั้น
1. ผู้แต่งคนเดียว
มนตรี ตู้จินดา (2538 : 86).........................................................................
2. ผู้แต่ง 2 คน
บำรุง กลัดเจริญ และวีวรรณ กินาวงศ์ (2527 : 245-246)..........................
3. ผู้แต่งมากกว่า 2 คน
มนัส ภาคภูมิ และคณะ (25385 : 21)........................................................
4. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์การ หรือหน่วยงาน
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2539 : 23-24) กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการศึกษาในอนาคต.....................................................................................
....เน้นการปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน คือ ปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา ปฏิรูปและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และปฏิรูประบบบริหารการศึกษา (สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. 2538 : 2)
5. กรณีที่เอกสารมากกว่าหนึ่งชื่อเรื่อง โดยผู้แต่งคนเดียวกัน และพิมพ์ปีเดียวกัน
ควรกำหนดอักษร ก ข ค หรือ a b c ไว้หลังปี พ.ศ. ตามลำดับ เพื่อให้ทราบว่าไม่ใช่เอกสารชิ้นเดียวกัน เช่น
ปราโมทย์ ธีรพงษ์ (2541ก : 23)......................................................................
ปราโมทย์ ธีรพงษ์ (2541ข : 10-12).................................................................
6. กรณีที่มีการอ้างอิงในเรื่องเดียวกัน จากเอกสารมากกว่า 1 รายการ ให้อ้างอิง โดยเรียงลำดับปีพิมพ์ เช่น
วินัย วีระวัฒนานนท์ (2530 : 191)และนิวัติ เรืองพานิช(2537 : 14) กล่าวว่า....
หรือ
...(วินัย วีระวัฒนานนท์. 2530 : 191 ; นิวัติ เรืองพานิช. 2537 : 14)
7. กรณีไม่ปรากฏผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่อง แทนผู้แต่ง
กฎหมายตราสามดวง (2520 : 5).......................................................................
8. กรณีไม่ปรากฎปีพิมพ์
ให้ใส่คำว่า ม.ป.ป. หรือ n.d.
9. กรณีอ้างผู้แต่งที่ปรากฏในเอกสารอื่น เขียนได้ 2 แบบ
- อ้างผู้แต่งเอกสารต้นฉบับขึ้นก่อน ตามด้วยคำว่า อ้างถึงใน หรือ cited in
แล้วตามด้วยผู้แต่งที่นำข้อมูลไปอ้าง เช่น ต้องการอ้างอิงเอกสารของ Pratt ที่ถูกนำไปอ้างไว้ในเอกสารของปราโมทย์ ธีรพงษ์ ให้อ้างดังนี้
Pratt (1992 : 15-18 อ้างถึงใน ปราโมทย์ ธีรพงษ์,2514 : 14)............................................
- อ้างชื่อผู้แต่งเอกสารที่นำข้อมูลมาอ้างขึ้นก่อน ตามด้วยคำว่า อ้างจาก หรือ cited from
แล้วตามด้วยชื่อผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ เช่น ต้องการอ้างเอกสารของปราโมทย์ ธีรพงษ์ ที่ได้นำข้อมูลจากเอกสารขอ Pratt มาอ้าง ให้อ้างดังนี้
ปราโมทย์ ธีรพงษ์(2541 : 14 อ้างจาก Pratt. 1992 : 15-18)..............................
10. กรณีอ้างจากอินเทอร์เน็ต
ธนรัฐ สวัสดิชัย(2547 : ออนไลน์) ให้ความรู้เรื่องกาแฟอาราบิก้าว่า มันจะปลูกในระดับพื้นที่สูง...
กาแฟอาราบิก้ามักจะปลูกในระดับพื้นที่สูง...(ธนรัฐ สวัสดิชัย. 2547 : ออนไลน์

กิจกรรม
- ทำแบบฝึกหัด การเขียนเชิงอรรถระบบท้ายหน้า และระบบนาม-ปีจากรายการในแบบฝึกหัด


บรรณานุกรม
บรรณานุกรม มีหลายความหมายแล้วแต่ว่าจะใช้ในกรณีใด แต่ในการเขียนรายงาน หมายถึง รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์วารสาร จุลสาร และอุปกรณ์โสดทัศน์อื่นๆ ที่นำมาประกอบในการทำรายงาน ภาคนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อหา หรือข้อมูลนั้นมาจากแหล่งใดถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจะหาได้จากแหล่งใดและเพื่อเป็นการยินยันว่าเนื้อหานั้นไม่ได้เขียนขึ้นมาลอยๆมีแหล่งที่มา

ส่วนประกอบของบรรณานุกรมและการลงรายการ
1. ผู้แต่ง ได้แก่ผู้รับชอบในการเขียนหรือผลิตสารนิเทศนั้น ซึ่งอาจเป็นผู้รวบรวมบรรณาธิการ ผู้แปล หรือหน่วยงานต่างๆ ก็ได้
ก. ผู้แต่งที่เป็นคนไทย ให้ลงชื่อ และขื่อสกุลตามปกติ โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ
ซึ่งบอกยศ ตำแหน่ง และเพศ เช่น พันเอก ศาสตราจารย์ ดร. นาย นาง นางสาว ฯลฯ แต่กรณีผู้แต่งมีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ และบรรดาศักดิ์ให้ลงต่อจากชื่อสกุลโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค(.) คั่น เช่น
ข. ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศให้ใช้ชื่อสกุลขึ้นก่อน คั่นด้วยเครื่องหมาย(,)ตามด้วยชื่อต้น และชื่อกลาง หลังชื่อผู้แต่งใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าชื่อกลางมีมหัพภาคอยู่แล้วไม่ต้องใช้อีกเช่น Kennedy, John F.
กรณีที่มีผู้แต่ง 2 คนให้ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างคนที่ 1 และ 2
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า and
ผู้แต่ง 3 คน ใช้จุลภาค(,)คั่นระหว่างผู้แต่งคนที่ 1 และ 2 ระหว่างคนที่ 2 และ3 ใช้คำว่า “และ”คั่น
ผู้แต่งเกิน 3 คน ใช้ผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า และคณะ หรือ และคนอื่นๆ ภาษาอังกฤษใช้ et al. หรือ and others
ค. ผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ให้ลงชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานรองเช่น
กระทรวงศึกษาธิการ.กรมวิชาการ.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.
2. ปีพิมพ์ ให้ลงเฉพาะตัวเลขของปีพิมพ์ ไว้ในวงเล็บไม่ต้องใส่คำว่า พ.ศ. หรือ ค.ศ.โดยลงต่อจากรายการผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค(.)ถ้าไม่ปรากฏปีพิมพ์ให้ลงคำว่า ม.ป.ป.หรือ n.d.(no date)
3. ชื่อเรื่อง ให้ลงรายการชื่อเรื่องตามที่ปรากฏในหน้าปกในของหนังสือ หากมีชื่อเรื่องรองให้ใส่ไว้ด้วย โดยลงต่อจากปี พ.ศ. กรณีใช้คอมพิวเตอร์ พิมพ์ด้วยตัวหนา สำหรับชื่อเรื่องภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นทุกคำ ยกเว้นคำนำหน้านาม บุรพบท สันธาน ใช้อักษรตัวเล็ก
4. ครั้งที่พิมพ์ หนังสือที่พิมพ์มากกว่า 1 ครั้ง ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ โดยลงรายการเฉพาะการพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไปเท่านั้น เช่น พิมพ์ครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่3....
5. สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองจังหวัด รัฐ ที่สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่ตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค(: ) ถ้าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ใช้คำว่า ม.ป.ท. ภาษาอังกฤษใช้
n.p.(no print)
6. สำนักพิมพ์ ลงชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค(.)
***กรณีสำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ลงเฉพาะชื่อ (ตัดคำว่า ห้างหุ้นส่วน บริษัท บริษัทจำกัดออก)เช่น
บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด = ซีเอ็ดยูเคชั่น
สำนักพิมพ์เอมพันธ์ = เอมพันธ์
ภาษาอังกฤษตัดคำว่า Limited(Ltd)Incorporated(inc.)ออก
***กรณีที่สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์เป็นสมคม หน่วยงาน องค์กรหรือมหาวิทยาลัย ให้ระบุชื่อเต็ม โดยลงคำว่า สำนักพิมพ์ด้วย เช่น สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์องค์การ
สงเคราห์ทหารผ่านศึก โรงพิมพ์คุรุสภา เป็นต้น
ถ้าไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. หรือ n.p. เช่นเดียวกับ
สถานที่พิมพ์ แต่ถ้าไม่ปรากฏทั้งสถานที่พิมพ์และสำนักพิมพ์ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. หรือ n.p.
แทนเพียงครั้งเดียว

รูปแบบของรายการบรรณานุกรม
จากหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. เล่มที่ (ถ้ามี). ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์

ผู้แต่งคนเดียว
ไมตรี วรวุฒิจรรยากุล. (2530). ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า เล่ม4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พลชัย.
ผู้แต่ง 2 คน
พรทิพย์ เลาหวิโรจน์ และสุพจน์ จิตต์ประเสริฐ. (2520). คอมพิวเตอร์กับการเขียนโปรแกรม
ภาษาเบสิค. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.


ผู้แต่ง 3 คน
สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์, ธีรพล เมธีกุล และวรพจน์ ศรีวงษ์ดล. (2520). เขืยนแบบเครื่องกล 03.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนฯ พระนครเหนือ.
ผู้แต่งเกิน 3 คน
ปรีชา ทัพพะกุล ณ อยุธยา และคณะ. (2531). องค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
- กรณีไม่ปรากฏผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการแรก เช่น
ศัพทานุกรมสำหรับปฏิบัติการในระบบสารสนเทศทางการศึกษา. (2529). กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
- กรณีที่ผู้แต่งของรายการเล่มล่าง ซ้ำกับเล่มบนซึ่งอยู่ติดกัน ให้ขีดเส้นยาว 7 ตัวอักษรแทนชื่อผู้แต่งเล่มล่างไม่ต้องเขียนซ้ำอีก เช่น
ไมตรี วรวุฒิจรรยากุล. (2528). ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย.
_____. (2530).ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า เล่ม 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย.
- กรณีผู้แต่งใช้นามปากกา หรือนามแฝง ให้ใช้นามแฝงแทนชื่อผู้แต่ง แล้ววงเล็บคำว่านามแฝง
ภาษาอังกฤษ pseud.เช่น
องอินทร์ (นามแฝง). (ม.ป.ป.). คำสารภาพของเขมรสิ้นชาติ. กรุงเทพฯ : เบญจมิตร.
- กรณี หนังสือแปล ลงรายการเหมือนหนังสือทั่วไป แต่หลังชื่อเรื่องลงคำว่าแปลจาก...โดย...
ภาษาอังกฤษใช้ translated from…by…เช่น
แมคแคร็กเคน, แมรี่. (2537). ขอเพียงให้โลกนี้มีความรัก. แปลจาก Circle of Children
โดย นิรวรรณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเด็ก.
- กรณีที่ผู้แต่งมีฐานะเป็นผู้รวบรวม บรรณาธิการ ลงคำว่า ผู้รวบรวม หรือ บรรณาธิการไว้ท้ายชื่อ
ผู้รวบรวม หรือบรรณาธิการ โดยคั่นเครื่องหมายจุลภาค (.) ภาษาอังกฤษใช้ comp. และ ed.
ตามลำดับ เช่น
ประธาน วัฒนวาณิชย์, บรรณาธิการ. (2529). จะสอนบรรยายไม่ง่ายอย่างที่คิด. กรุงเทพฯ :
ประกายพรึก.

บรรณานุกรมบท หรือบทความในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). “ชื่อบท หรือบทความ.” ใน ชื่อหนังสือ. หน้าที่ปรากฏบทความ.
ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2534). “ระบบสารนิเทศเพื่อการส่งออกในสภาวะปัจจุบัน.” ในกลยุทธ์การ
จัดการสารนิเทศเพื่อการพัฒนา. หน้า 78-93. รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน และแจ่มจันทร์
นพบุตรการต์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.
บรรณานุกรมลทความจากวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์,เดือน). “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้า.

พิรุณ จำบัง. (2537,มีนาคม). “ครูไทยอ่านอะไรในยุคสื่อไฮเทค.” ก้าวไกล. 4(11) : 22-23.
บรรณานุกรมบทความจากหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์,วันที่ เดือน). “ชื่อบทความ.”ชื่อหนังสือพิมพ์. หน้า เลขหน้า.

อมร จันทร์สมบรูณ์. (2535, 7 เมษายน). “โครงการศึกษาเพื่อการปฏิรูปรัฐธรรมนูญสำหรับ
ประเทศไทย.” มติชน. หน้า 32.
บรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต
“ชื่อเรื่อง.” (ปี พ.ศ./ค.ศ.). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : ชื่อเว็บไซด์.

“ไอศกรีม.” (2539). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http : // www………………
บรรณานุกรมจาการสัมภาษณ์
ผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง(ถ้ามี) (ปี). สัมภาษณ์, วันที่ เดือน.

แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (2537).สัมภาษณ์, 11 มีนาคม.

การเขียนบรรณานุกรม

1. เขียนคำว่า บรรณานุกรม ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบกระดาษด้านบน 2 นิ้วโดยไม่ต้องขีดเส้นใต้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า BIBLIOGRAPHY โดยพิมพ์ หรือเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ รายการแรกของบรรณานุกรม ให้เว้นห่างจากคำว่า บรรณานุกรม 1 บรรทัด
2. การเรียงรายการบรรณานุกรมให้จัดเรียงตามตัวอักษร (ก-ฮ หรือ A-Z) ของรายการแรกยกเว้นภาษาอังกฤษที่รายการแรกขึ้นต้นด้วย article ให้จัดเรียงตามตัวอักษรของคำถัดไป
3. บรรทัดแรกของแต่ละรายการเขียนชิดขอบซ้าย (ขอบกระดาษที่เว้นไว้ 1.5 นิ้ว) หากมีรายละเอียดยาวเกินกว่า 1 บรรทัดให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อเข้าไป 7 ตัวอักษร เริ่มเขียนตรงกับตัวที่8
แระเมื่อขึ้นรายการใหม่ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยเขียนชิดขอบซ้ายมือทุกครั้ง
4. การเว้นวรรคหลังเครื่องหมายต่างๆ ให้เว้น 1 ตัวอักษรทุกครั้ง ยกเว้นหลังเครื่องหมาย
มหัพภาค (.) ให้เว้น 2 ตัวอักษร